คำบูชาพระธาตุ (ตั้งนะโม 3 จบ) * อะหังวันทามิ ทูระโต อะหังวันทามิ ธาตุโย อะหังวันทามิ สัพพะโส อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเสพุทธะ นาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ * (กราบ 3 ครั้ง) ********************** |
ประวัติโดยย่อพระมหาธาตุวรมหาวิหาร พระบรมธาตุจังหวัดนครศรีธรรมราช วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารเดิมเรียกว่าวัดพระบรมธาตุ เป็นวัดใหญ่ ตั้งอยู่ภายในเขตกำแพงเมืองโบราณ ทางทิศใต้ เนื้อที่ ๒๕ ไร่ ๒ งาน มีถนนราชดำเนินตัดผ่านหน้าวัด เข้าใจว่าเดิมคงเป็นถนนโบราณ ประวัติการสร้างวัดไม่มีหลักฐานปรากฎแน่ชัดนอกจากประวัติจากตำนานที่กล่าวถึงการก่อสร้างพระมหาธาตุ ซึ่งเป็นเอกสารที่เขียนขึ้นจากคำบอกเล่าภายหลังเหตุการณ์จริงเป็นเวลายาวนานมาก หลักฐานทางเอกสารที่ชัดเจนปรากฏขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ กล่าวว่าวัดนี้เป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ต่อมาพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ อุปราชปักษ์ใต้ทรงอาราธนาพระสงฆ์จากวัดเพชรจริกมาดูแลรักษาวัด และคราวที่รัชกาลที่ ๖ เสด็จประพาสเมืองนคร ได้โปรดพระราชทานนามวัดว่า วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร *************************************************** |
---|---|
+ คาถาบูชาพ่อขุนฯ+ (ตั้งนะโม 3 จบ) พะยะเก มะพะยะ (5 ครั้ง) (ตั้งนะโม 3 จบ) |
ประวัติความเป็นมาพ่อขุนรามคำแหงในด้านกฏหมาย กฎหมายในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมิได้มีไว้เป็นลายลักษณ์อักษร นักกฎหมายในปัจจุบันได้ถือเอาข้อความในศิลาจารึก หลักที่ 1 มาพิจารณาตามความหมายและแบ่งออกเป็นกฎหมายได้หลายลักษณะ ดังที่ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ได้ให้ความเห็นว่า ศิลาจารึกหลักแรกนี้ถือเป็น ปฐมรัฐธรรมนูญไทย ทั้งนี้เพราะหลักการร่างรัฐธรรมนูญนั้น จะต้องมีการบอกอาณาเขต สิทธิเสรีภาพ ซึ่งในหลักศิลาจารึกก็ได้บัญญัติไว้ครบครัน |
มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ถ.นครศรี-ทุ่งสง ต.ท้ายสำเภา อ.พระพรหม จ.นครศรีธรรมราช 80000
โทร.075-378660-1,075-466147-8